วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

พลาดไม่ได้ งานสัมนาเพื่อเพิ่มความอัจฉริยะให้กับธุรกิจคุณได้แล้ววันนี้ ด้วยระบบ Business Intelligence วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ ห้องออดิทอเรียม บริษัทไมโครซอฟท์


SMBSolution_Excel_BI
If you have any difficulty in viewing this email, please Click Here   |   More information, Please Call 02-263-6888
ถ้าคุณกำลังเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมอยู่ คุณอาจจะรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด และ ไม่มีคำว่าเรื่องเล็ก เมื่อพูดถึงความยุ่งยาก ของการบริหารธุรกิจตัวเอง เพราะทุกอย่างล้วนแต่เป็นเรื่องใหญ่ทั้งนั้น ในช่วงเวลาหนึ่งของการทำธุรกิจ คุณอาจจะพบว่าตัวเองกำลังพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อสำรวจประสิทธิภาพของการขาย สำรวจรายการสินค้า จัดการกับรายรับรายจ่ายหรือลดความไร้ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตก็เป็นได้

คุณมีข้อมูลทุกอย่างอยู่ครบมือ น่าจะอยู่ที่ไหนสักแห่งในบริษัท เช่นรายการขายสินค้าตัวนี้ รายการสินค้าตรงนั้น ในบัญชีแยกประเภท หรือในรายการอัพเดทการผลิต กล่าวง่ายๆ ก็คือข้อมูลพวกนี้ถูกฝังอยู่กระจัดกระจายทั่วไปหมด คงเป็นเรื่องดีไม่น้อยทีเดียวถ้าคุณจะสามารถดึงข้อมูลเหล่านี้มารวมกันและใช้มันเพื่อวิเคราะห์ธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์ คุณจะได้วางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เรื่องที่น่าดีใจก็คือ คุณสามารถทำเช่นนั้นได้ด้วยเทคโนโลยีของระบบ Business Intelligence แน่นอน คุณคงกำลังคิดว่า "ฉันคงไม่มีเงินพอซื้อเทคโนโลยีซับซ้อนแพงๆพวกนั้นหรอก Business Intelligence เหรอ นั่นมันสำหรับพวกธุรกิจใหญ่ๆ นี่ องค์กรที่มีทีมไอทีเก่งๆ เยอะๆ



สำหรับช่วงเช้า ท่านจะได้พบกับ Excel 2013 ที่มีคุณลักษณะใหม่ และ ฟังก์ชั่น ที่ใช้งานร่วมกับ BI เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล
สรุปเป็นรายงาน ทั้งในรูปแบบตาราง และ Dashboard โดยสามารถทำงานร่วมกับ SharePoint Server 2013 เพื่อการใช้สมุด
งานร่วมกัน
สำหรับช่วงบ่าย สำหรับท่านที่ต้องการเจาะลึกเบื้องหลังระบบฐานข้อมูล SQL Server 2014 ที่สามารถจัดการได้ทั้งข้อมูลแบบ
unstructured รวมทั้งข้อมูลจากภายนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่มาจากอินเตอร์เน็ต ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ให้เป็น
ประโยชน์ต่อธุรกิจท่าน

กลุ่มผู้เข้าร่วมสัมนา
เหมาะสำหรับกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้บริหารด้านสายงานธุรกิจ ผู้บริหารไอที และผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล

วันเวลาและสถานที่จัดงาน
วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 08.30-16.00 น.
ห้องออดิทอเรียม 1 บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
ชั้น 38 อาคารซีอาร์ซี ออลซีซั่นเพลส ถ.วิทยุ

กำหนดการ

เวลา ห้วข้อการอบรบ เวลา ห้วข้อการอบรบ
08.30 – 09.00 น.   ลงทะเบียน 13.00 – 13.30 น.   ลงทะเบียน
09.00 – 10.00 น.   ภาพรวมของความสามารถ
  ของ BI ใน Excel 2013  พบ
  คุณลักษณะใหม่ธุรกิจอัจฉริยะ
  (BI) และฟังก์ชันใน Excel 2013
13.30 – 14.30 น.   SQL Server 2014 ปลดล็อคข้อมูล
  เชิงลึกแบบเรียลไทม์ ศึกษาว่า
  มีอะไรใหม่ใน SQL Server 2014
  ระบบไฮบริดแบบใหม่เป็นอย่างไร
10.00 – 10.45 น.   ความสามารถที่เพิ่มขึ้นของ BI
  ที่อยู่ใน Excel ใน SharePoint
  Server 2013
14.30 – 15.15 น.   การสร้าง Dashboards
  รวมทั้ง Report
10.45 – 11.00 น.   รับประทานอาหารว่าง 15.15 – 15.30 น.   รับประทานอาหารว่าง
11.00 – 11.30 น.   การดู Report ผ่าน Excel Web
  App การนำเข้าข้อมูลจากเว็บไซต์
  เพื่อใช้ในการวิเคราะห์     ตัวเลข
  ยอดขาย การสั่งซื้อสินค้าจะไม่ใช่
  เรื่องยากอีกต่อไปเพราะเครื่องมือ
  ที่มาใน   Excel 2013  สามารถ
  เชื่อมต่อข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์
  ได้เลย
15.30 – 16.00 น.   การ Import structured data
  แบบ unstructured data และ
  external data การตั้งค่าและ
  โหลดฐานข้อมูลยัง Public cloud
  storage
11.30 – 12.00 น.   ถามตอบ 16.00 – 16.30 น.   ถามตอบ


Sign up for other newsletters | Update your profile
© 2014 Microsoft Corporation Terms of Use | Trademarks
Microsoft เคารพในสิทธิส่วนบุคคลของคุณ โปรดตรวจสอบ คำชี้แจ้งสิทธิ์ส่วนบุคคล ออนไลน์ของเรา.

หากคุณไม่ต้องการได้รับข้อความอีเมลโปรโมชั่นจาก Microsoft Corporation โปรดคลิก ที่นี่.

การตั้งค่าเหล่านี้จะไม่ส่งผลต่อจดหมายข่าวที่คุณได้ร้องขอ หรือการสื่อสารเกี่ยวกับบริการที่จำเป็นที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของบริการของ Microsoft แต่อย่างใด ในการตั้งค่าการกำหนดลักษณะที่ติดต่อของคุณสำหรับการสื่อสารอื่นๆ ของ Microsoft ให้คลิก ที่นี่.

Microsoft Thailand Limited
37th-38th FL, CRC Tower, All Seasons Place
Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330 Thailand

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบสารสนเทศ:หลักการเลือกระบบ ERP


ERP คือ Enterprise Resource Planning.แปลความหมายคือ การวางแผนทรัพยากร ขององค์กร นั่นเอง.แล้ว ERP แบบไหนจึงจะดีและเหมาะกับบริษัท ถ้า ERP ตัวทีดีหมายถึงครบครัน ครอบคุมรองรับข้อมูลมากมายนี่ก็คงหนีไม่พ้นระบบ ERP 2 เจ้าใหญ่ เช่น SAP, Oracle แต่ถ้า ERP ที่เหมาะสม นี่ต้องดูด้วยว่าขนาดข้อมูลขนาดขององค์กร ทุนหรือผลกำไรของบริษัทคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ และที่สำคัญประเภทธุรกิจของท่านเป็นแบบใด ควรเลือก ERP ที่เหมาะกับประเภทธุรกิจของท่านมากกว่า     
ERP

เนื่องจาก ERP เจ้าใหญ่นั้นค่าใช้จ่ายในการ Implement จะอยู่ที่ 40 ล้านขึ้นไป.ส่วนทางเลือกอื่นๆหากต้องการใช้ ERP ที่เหมาะกับองค์กร และค่าใช้จ่ายไม่มากนักก็อาจจะมอง Open Source ERP. หรือเลือกของ Microsoft เช่น Dynamic AX หรือ Dynamic Nav. ซึ่งรายละเอียดอาจจะหาได้จากการค้นหาจาก Internet แต่เทคนิคนึงที่จะใช้ในการหาข้อมูลและคุณสมบัติ ของ ERP เจ้าต่างๆไม่ยากครับ บางบริษัทอาจจะใช้วิธี ให้ทาง Vendor เข้ามานำเสนอและแนะนำระบบของ Vendor นั้นซึ่งวิธีนี้จะดีที่สุดเนื่องจาก เราสามารถนำเสนอต่อคณะกรรมได้ทันทีโดยให้ Vendor เป็นผู้นำเสนอ.

ส่วนรายละเอียดต่างเพิ่มเติมให้ได้ใน Blog นี้นะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบสารสนเทศ:ตอนหนึ่งเทคนิคการสร้างความปลอดภัยให้กับระบบ.

ระบบสารสนเทศ.เป็นสิ่งที่สำัคัญมากในปัจจุบันเนื่องจากเทคโนโลยีต่างๆได้พัฒนาขึ้นมีและราคาถูกลง ระบบสารสนเทศที่เก็บบน Server นั้นเป็นสิ่งที่ควรปกป้องรักษาเพราะเป็นสิ่งสำัคัญที่จะนำมาช่วงชิงความได้เปลี่ยบเสียบเปรียบกันในวงการธุรกิจ ปัจจุบันจึงมีการขโมยข้อมูลเพื่อขายกันมากมายและทุกบริษัทมีการวางระบบรักษาความปลอดภัยอย่างหนาแน่นแต่ก็ไม่พ้น นักเจาะระบบมือดี อีกสาเหตุหนึ่งที่เรามักจะลืม.ถ้าใครเป็นคนติดตั้ง Server ตระกูลวินโดวจะรู้ดีว่าตอนติดตั้งชื่อผู้ติดตั้งระบบ จะถูกกำหนดเป็น Administrator โดยมาตราฐานและจะเปลี่ืยนไม่ได้(บางคนเข้าใจอย่างนั้น) แต่จริงแล้วเปลี่ยนได้ครับหลังจากติดตั้งวินโดเสร็จยังไม่ต้องลงโปรแกรมอะไร ให้ไปเปลี่ยนชื่อ administrator เป็นชื่ออื่นครับ โดยเข้าไปที่ gpedit.msc พิมพ์ที่ช่อง Run ครับ แล้วหาตามรูปข้างล่างนะครับ
ระบบสารสนเทศ:เทคนิคการสร้างความปลอดภัยให้กับระบบ
เปลี่ยนเป็นชื่ออะไรก็ได้ตามชอบครับ แล้วไป Reset รหัสผ่าน ให้มี ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ตัวเลขอักรขระพิเศษ แค่นี้นักเจาะระบบก็เจาะเข้าได้ยากขึ้นมากๆๆแล้วครับ.
Video by Sittishon

วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

กระบวนการการแก้ปัญหาด้วยระบบสารสนเทศ

จากประสบการณ์แล้วกระบวนการการแก้ปัญหาด้วยระบบสารสนเทศมีดังนี

  1. ศึกษาระบบ
  2. รวบรวมปัญหา
  3. วิเคาะห์ปัญหา
  4. ทำโมเดลในการแก้ปัญหา
  5. ทดสอบโมเดล
  6. ประเมินผลการทดสอบ
  7. นำไปใช้
ขั้นตอน 1 ถึง 6 เป็นหัวข้อหลัก หากนำไปใช้แล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็กลับไปเริ่มที่ขึ้นตอนที่ 3 ใหม่. นี่เป็นขั้นตอนมาตราฐานนะครับ บาทองค์กร อาจมีเพิ่มลดกระบวนการตามความเหมาะสม ในส่วนรายละเอียดในการอธิบาย กระบวนการจะขอยกเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาซึ่งอาจจะมีกระบวนการแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร.ซึ่งจากกระบวนการการแก้ปัญหาด้วยระบบสารสนเทศ จึงเกิดแนวคิดและกระบวนการที่เรียกว่า
วงจรการวิเคราะห์ระบบงาน

ในการพัฒนาระบบนั้น ได้มีการกำหนดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และกำหนดขึ้นตอนที่เป็นแนวทางในนักวิเคราะห์ระบบปฏิบัติงานได้โดยมีข้อบกพร่องน้อยที่สุด เพราะงานการวิเคราะห์ระบบในปัจจุบันมีความซับซ้อนของงานมากกว่าสมัยก่อน นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องการมาตรฐานในการพัฒนาระบบดังกล่าว จึงได้มีการคิดค้นวงจรการพัฒนาระบบงานขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของนักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis : SA)

วงจรการพัฒนาระบบงานสำหรับระบบงานทั่วไป
วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle : SDLC) สำหรับระบบทั่วไปที่ได้มีการคิดค้นขึ้นมา สามารถแบ่งออกเป็นลำดับขั้นได้ 4 ขั้นตอน คือ
1.
การวิเคราะห์ระบบงาน เป็นขึ้นตอนของการศึกษาระบบงานเดิมที่ใช้ในปัจจุบัน (Current System) ปัญหาที่เกิดจากระบบงานเดิม ตลอดจนการศึกษาถึงความต้องการของธุรกิจ (Business Needs and Requirements) พร้อมกับการประเมินเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมมาแก้ปัญหา
2.
การออกแบบและวางระบบงาน เป็นขึ้นตอนหลังจากการวิเคราะห์ระบบงานซึ่งเป็นขึ้นตอนที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องวางโครงสร้างของระบบงาน ในรูปลักษณะทั่ว ๆ ไปและในรูปลักษณะเฉพาะโดยมีการแจกแจงรายละเอียดที่แน่ชัดของแต่ละงาน หรือระบบงานย่อยของระบบที่ได้ออกแบบขึ้นจะถูกส่งต่อไปให้กับโปรแกรมเมอร์เพื่อจะได้ทำการเขียนโปรแกรมให้เป็นระบบที่ปฏิบัติงานได้จริงในขึ้นตอนต่อไป
3.
การนำระบบเข้าสู่ธุรกิจหรือผู้ใช้ เป็นขึ้นตอนที่นำเอาระบบงานมาติดตั้ง (Install) ให้กับผู้ใช้ และเพื่อให้แน่ใจว่าระบบงานสามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ระบบงานจะต้องถูกทำการตรวจสอบมาอย่างดี พร้อมกับการฝึกอบรม (Education and Training) ให้ผู้ใช้ระบบสามารถใช้ระบบงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง
4.
การดำเนินการสนับสนุนภายหลังการติดตั้งระบบงาน เป็นขั้นตอนที่ระบบงานใหม่ได้ถูกนำมาติดตั้งแล้วผู้ใช้ระบบอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบใหม่นักวิเคราะห์ระบบควรจะให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ระบบในการปฏิบัติงานทั้งนี้รวมถึงความต้องการต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปภายหลังจากระบบได้ถูกติดตั้ง ซึ่งนักจะเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาระบบงาน (System Maintenance) และการปรับปรุงระบบงาน (System Improvement)
เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป และระบบงานที่กำลังปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเป็นต้องปรับปรุงใหม่ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องกลับไปเริ่มต้นที่ขั้นที่ 1 ใหม่ และจะเป็นเช่นนี้เรื่อย  ๆ ไป ถ้าเกิดความเปลี่ยนแปลงของระบบ

การพัฒนาระบบงาาน

วงจรการพัฒนาระบบงานสำหรับระบบสารสนเทศ
วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle : SDLC) ของระบบสารสนเทศ ได้มีการคิดค้นขึ้นมาโดยมีขึ้นตอนที่แตกต่างไปจากวงจรการพัฒนาระบบงานสำหรับระบบงานทั่วไป ตรงที่มีขั้นตอนในการพัฒนาระบบงานที่ละเอียดว่าถึง 7 ขั้นตอน ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจว่าในแต่ละขั้นตอนว่าทำอะไรและทำอย่างไร สามารถแบ่งออกเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ

ภาพที่ 2.1 แสดงวงจรกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนเสร็จเป็นระบบงานที่ใช้ได้
1.
ค้นหาปัญหา โอกาสและเป้าหมาย (Identifying Problems, Opportunity and Objective)
2.
ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
3.
วิเคราะห์ความต้องการของระบบ (Analyzing System Needs)
4.
การออกแบบระบบ (Designing the Recommended System)
5.
พัฒนาซอฟต์แวร์และจัดทำเอกสาร (Developing and Documenting Software)
6.
ทดสอบและบำรุงรักษาระบบ (Testing and Maintaining the System)
7.
ดำเนินงานและประเมินผล (Implementing and evaluating the System)
                1. ค้นหาปัญหา โอกาสและเป้าหมาย (Identifying Problems, Opportunity and Objective)
ระบบสารสนเทศจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารหรือผู้ใช้ตระหนักว่าต้องการระบบสารสนเทศ หรือต้องแก้ไขระบบเดิม โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.1
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ต้องศึกษาระบบโดยละเอียด เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร ตัวอย่างปัญหา เช่น
·         บริษัท ก เปิดสาขาเพิ่มมากขึ้น ระบบเดิมไม่ได้ครอบคลุมถึงการขยายตัวของบริษัท
·         บริษัท ข เก็บข้อมูลผู้ขายได้เพียง 1,000 ราย แต่ปัจจุบันระบบนี้มีข้อมูลผู้ขาย 900 ราย และในอนาคตจะมีเกิน 1,000 ราย
·         ระบบสารสนเทศในองค์กรหลาย ๆ แห่งในปัจจุบัน ที่ใช้มานานแล้วและใช้เพื่อติดตามเรื่องการเงินเท่านั้น ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นสารสนเทศเพื่อตัดสินใจ
                       1.2 พยายามหาโอกาสในการปรับปรุงวิธีการทำงานโดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์
1.3
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ต้องมองเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อจะได้รู้ทิศทางของการทำระบบให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น ต้องการแข่งขันกับคู่แข่งในเรื่องการลดต้นทุนในการผลิตสินค้า โดยการลดจำนวนการสต็อกวัตถุดิบ ดังนั้น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ จะเห็นถึงปัญหา โอกาส และเป้าหมายในการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในการเก็บข้อมูลสต็อกวัตถุดิบ และประมวลผลการสั่งวัตถุดิบ เป็นต้น
2.
ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
2.1
กำหนดว่าปัญหาคืออะไร และตัดสินใจว่าจะพัฒนาสร้างระบบสารสนเทศใหม่หรือการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมมีความเป็นไปได้หรือไม่ โดยเสียค่าใช้จ่ายและเวลาน้อยที่สุด
2.2
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ต้องกำหนดให้ได้ว่าการแก้ปัญหานั้น
2.2.1
มีความเป็นไปได้ทางเทคนิคหรือไม่ เช่น จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่ ซอฟต์แวร์แก้ไขได้หรือไม่
2.2.2
มีความเป็นไปได้ทางบุคลากรหรือไม่ เช่น มีบุคคลที่เหมาะสมที่จะพัฒนาและติดตั้งระบบหรือไม่ ผู้ใช้มีความคิดเห็นอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลง
2.2.3
มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่ เช่น มีเงินลงทุนหรือไม่ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์และออกแบบ ค่าใช้จ่ายในด้านเวลาที่ต้องใช้ในการพัฒนาระบบ
ดังนั้นในการศึกษาความเป็นไปได้นั้นสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ
·         หน้าที่ : กำหนดปัญหาและศึกษาว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ
·         ผลลัพธ์ : รายงานความเป็นไปได้
·         เครื่องมือ : เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบและคาดคะเนความต้องการของระบบ
·         บุคลากรและหน้าที่รับผิดชอบ :
·         นักวิเคราะห์และออกแบบระบบต้องเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็น
·         นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ต้องคาดคะเนความต้องการของระบบและแนวทางแก้ไขปัญหา
·         นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ กำหนดความต้องการที่แน่ชัด เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ระบบ โดยที่ผู้บริหารจะตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการต่อไปหรือไม่หรือยกเลิกโครงการ
                3. วิเคราะห์ความต้องการของระบบ (Analyzing System Needs)
                       3.1
เริ่มตั้งแต่ศึกษาการทำงานของธุรกิจเดิม ว่าทำงานอย่างไร
3.2
กำหนดความต้องการของระบบใหม่
3.3
เครื่องมือ : Data Dictionary, DFD, Process Specification, Data Model, Prototype
3.4
บุคลากรและหน้าที่ : ผู้ใช้ต้องให้ความร่วมมือ
3.5
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบศึกษาเอกสารที่มีอยู่ และศึกษาระบบเดิมเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนการทำงานของระบบ
3.6
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบเตรียมรายงานความต้องการของระบบใหม่
3.7
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบเขียนแผนภาพการทำงาน (DFD) ของระบบเดิมและระบบใหม่
3.8
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสร้าง Prototype ขึ้นมาก่อน
                4. ออกแบบระบบ (Designing the Systems)
4.1
ออกแบบระบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และผู้บริหาร
4.2
บุคลากรหน้าที่ :
4.2.1
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบตัดสินใจเลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
4.2.2
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบออกแบบข้อมูล เข้ารายงานการแสดงผลบนหน้าจอ ออกแบบฐานข้อมูล
4.2.3
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบกำหนดจำนวนบุคลากรในระบบ
                5. พัฒนาซอฟต์แวร์และจัดทำเอกสาร (Developing and Documenting Software)
5.1
เขียนโปรแกรม จัดทำคู่มือการใช้โปรแกรม และฝึกอบรมผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องในระบบ
5.2
บุคลากรและหน้าที่ :
5.2.1
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบเตรียมสถานที่และการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์
5.2.2
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบวางแผนและดูแลการเขียนโปรแกรม
5.2.3
โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรม
5.2.4
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบดูแลการเขียนคู่มือการใช้โปรแกรมและการฝึกอบรม
6.
ทดสอบและบำรุงรักษาระบบ (Testing and Maintaining the System)
                       6.1
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบและทีมงานทดสอบโปรแกรม
6.2
ผู้ใช้ตรวจสอบว่าโปรแกรมทำงานตามที่ต้องการ
6.3
ถ้าเกิดข้อผิดพลาดของโปรแกรม ให้ปรับปรุงแก้ไข
6.4
เมื่อทดสอบโปรแกรมแล้ว โปรแกรมไม่เป็นไปตามความต้องการ อาจต้องแก้ไขปรับปรุงใหม่
6.5
การบำรุงรักษา ส่วนใหญ่เป็นการแก้ไขโปรแกรมหลังจากใช้งานแล้ว เนื่องจาก
·         มีปัญหาในโปรแกรม (Bug)
·         ธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ธุรกิจขยายตัว ธุรกิจสร้างสินค้าตัวใหม่ความต้องการของระบบก็เพิ่มขึ้น รายงานเพิ่มขึ้น
·         การเปลี่ยนแปลงทางฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
·         ความต้องการผู้ใช้มีเพิ่มขึ้น 40-60 % ของค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบจะใช้ในการบำรุงรักษาระบบ
                7. ดำเนินงานและประเมิน (Implementing and evaluating the System)
7.1
ติดตั้งระบบให้พร้อม
7.2
นำระบบใหม่มาใช้แทนระบบเดิม
7.3
ใช้ระบบใหม่ควบคู่กับระบบเดิมสักระยะหนึ่ง แล้วดูผลลัพธ์ว่าตรงกันหรือไม่ถ้าใช้งานดี ก็เลิกใช้ระบบเดิม และใช้ระบบใหม่
7.4
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบทำการประเมินผล เพื่อให้ทราบถึงความพอใจของผู้ใช้ระบบ หรือสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุง หรือปัญหาที่พบ

หลักความสำเร็จของการพัฒนาระบบงาน
หลักการทำให้การพัฒนาระบบงานประสบความสำเร็จ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบควรรู้ถึงหลักการเหล่านี้ด้วย หลักความสำเร็จของการพัฒนาระบบ ได้แก่
1.
ระบบเป็นของผู้ใช้
นักวิเคราะห์ระบบควรระลึกเอาไว้เสมอว่า ระบบเป็นของผู้ใช้ ซึ่งจะเป็นผู้ที่นำเอาระบบและผลงานที่ได้ทำการออกแบบไว้ไปใช้และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบธุรกิจของเข่า ผู้ใช้ระบบจึงมีส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้การพัฒนาระบบงานเป็นไปอย่างถูกต้อง และเพื่อตอบสนองกับความต้องการที่แท้จริง นักวิเคราะห์ระบบจะต้องนำเอาความเห็นของผู้ใช้ระบบมาเกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนของการพัฒนาระบบ ในวงจรการพัฒนาระบบงานจะต้องมีบทบาทของผู้ใช้ระบบอยู่เสมอทุกขั้นตอน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบของผู้ใช้ระบบ จะทำให้ผู้ใช้ระบบรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของระบบและจะลดแนวความคิดที่ว่าผู้ใช้ระบบถูกยัดเยียดงานใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยอัตโนมัติ แรงต่อต้านของระบบงานก็จะลดลง
2.
ทำการจัดตั้งและแบ่งกลุ่มของระบบออกเป็นกลุ่มงานย่อย
กลุ่มงานย่อย ๆ ซึ่งแบ่งออกจากระบบใหญ่ ตามวงจรการพัฒนาระบบงาน ได้แบ่งขั้นตอนของการทำงานเป็นกลุ่มย่อย 4 ขั้นตอน ดังนี้
·         ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบงาน (System Analysis)
·         ขั้นตอนการออกแบบและวางระบบงาน (System Analysis)
·         ขั้นตอนการนำระบบงานเข้าสู่ธุรกิจเพื่อใช้ปฏิบัติงานจริง (System Implementation)
·         ขั้นตอนการติดตามและดำเนินการภายหลังการติดตั้งระบบงาน (System Support)
                สาเหตุที่ต้องมีการจัดแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ นั้น เพื่อที่จะให้ผู้บริหารโครงการหรือผู้พัฒนาระบบงานสามารถควบคุมความคืบหน้าของการพัฒนาระบบได้อย่างใกล้ชิด และสามารถที่จะกำหนดและควบคุมระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบได้ดีขึ้นอีกด้วย
3.
ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานไม่ใช่แบบอนุกรม (Sequential Process)
ขั้นตอนในการพัฒนาระบบงานที่ได้กล่าวมา 2 ข้อแรกนั้น สามารถจะทำซ้อนกันได้ในลักษณะที่ไม่จำเป็นจะต้องรอให้ขั้นตอนแรกทำงานเสร็จก่อนจึงจะทำงานในขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมด้วย โดยบางขั้นตอน จะต้องรอให้การทำงานเสร็จ สมบูรณ์ก่อนจึงจะสามารถทำงานในขั้นต่อไปได้
4.
ระบบงานข้อมูลถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง
                
การพัฒนาระบบงาน ถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่แตกต่างจากการลงทุนซื้อสินค้ามาทำการขายต่อให้ผู้บริโภค สิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบควรจะต้องคำนึงถึง คือ ทางเลือกต่าง ๆ ที่จะนำเงินไปลงทุน ซึ่งควรคิดทางเลือกของการพัฒนาระบบงานในหลาย ๆ งานและพิจารณาถึงความเป็นไปได้ต่าง ๆ รวมถึงการเปรียบเทียบต้นทุนและผลกำไรที่จะเกิดจากระบบงาน ว่าระบบงานนั้น ๆ คุ้มค่าที่จะทำการลงทุนหรือไม่
5.
อย่ากลัวที่จะต้องยกเลิก
                
ทุกขั้นตอนของวงจรการพัฒนาระบบงานจะต้องมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบจะมีโอกาสเสมอที่จะตัดสินใจว่าจะให้ระบบงานนั้นดำเนินต่อไปหรือยกเลิกระบบที่ได้มีการพัฒนาขึ้น ความรู้สึกของนักวิเคราะห์ระบบที่จะต้องถูกยกเลิกงานที่ทำมาตั้งแต่ต้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะศึกษาวิเคราะห์ออกแบบจนออกมาเป็นระบบงานใดงานหนึ่งคงจะเป็นความรู้สึกที่ไม่ดีนัก และไม่มีนักวิเคราะห์ระบบคนใดที่อยากจะเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ แต่เมื่อการพัฒนาระบบงานไม่สามารถจะทำให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ระบบได้ การยกเลิกโครงการหรือระบบงานก็เป็นสิ่งที่จำเป็น
ข้อเสียต่อความกลัวที่จะต้องยกเลิกระบบงาน คือ
·         สุดท้ายแล้วระบบงานนั้นก็จะต้องทำการยกเลิกอยู่ดี เมื่อพยายามจะ หลีกเลี่ยงการยกเลิกระบบงาน
·         การดันทุรังให้ระบบงานที่ควรจะยกเลิกให้ทำงานต่อไป จะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากไปลงทุนเพิ่มในระบบที่ไม่ควรจะลงทุน
·         ใช้เวลาและจำนวนคนเพิ่มมากขึ้น ทำให้งบประมาณบานปลาย จนไม่สามารถที่จะควบคุมได้

6. ทุกขั้นตอนของการพัฒนาระบบงานต้องมีการจัดทำเอกสารเพื่อใช้อ้างอิงเสมอ
การขาดการทำเอกสารประกอบหรือเอกสารอ้างอิงมักจะส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดต่อระบบงานและต่อนักวิเคราะห์ระบบ เพราะการจัดทำเอกสารมักจะถูกมองข้ามไป เนื่องจากเห็นว่าการจัดทำเอกสารเป็นสิ่งที่เสียเวลา แม้กระทั่งในส่วนของโปรแกรมเอง โปรแกรมเมอร์มักจะไม่นิยมเขียนคำอธิบายการทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าโปรแกรมส่วนนั้น ๆ ทำอะไร เพื่ออะไร ทั้งนี้เป็นการยากลำบากสำหรับการกลับมาแก้ไขโปรแกรมในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งมีผลทำให้การบำรุงรักษาระบบเป็นการยากและเสียเวลา บางครั้งอาจจะไม่สามารถแก้ไขระบบได้ถึงขนาดที่จะต้องเริ่มการศึกษาวิเคราะห์และออกแบบระบบกันใหม่ การจัดทำเอกสารในที่นี้ หมายรวมถึงการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ และแนวความคิด รวมทั้งข้อสรุปที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบงานด้วย

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบสารสนเทศ คืออะไร.

ระบบสารสนเทศ ในเด็กยุค IT ทุกคนคงรู้จักเป็นอย่างดี แต่บางครั้งในระดับองค์กร ก็ยังมีบางคนสับสนกับระบบประมวลผลข้อมูลทางอีิเล็กทรอนิค จริงแล้วมีความแตกต่างกันพอสมควรนะครับ แล้วระบบสารสนเทศ คืออะไรหละ ผมข้ออ้างอิงจาก เว็บนี้นะครับ http://www.sirikitdam.egat.com/

ระบบสารสนเทศ (Information System)

คือ ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่ เป็นประโยชน์สูง สุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหาร ขบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสารสนเทศนี้ เรียกว่า การประมวลผลผลสารสนเทศ (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน จัดการ และใช้ง่านร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ

1. ระบบประมวลผล

ความซับซ้อนในการปฏิบัติงานและความต้องการสารสนเทศที่หลากหลาย ทำให้การจัดการและการประมวลผลข้อมูลด้วยมือ ไม่สะดวก ช้า และอาจผิดพลาด ปัจจุบันองค์การจึงต้องทำการจัดเก็บและการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุนในการจัดการข้อมูล เพื่อให้การทำงานถูกต้องและรวดเร็วขึ้น

2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม

การสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล ตลอดจนการใช้ ข้อมูลในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกัน ให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การจัดการข้อมูล

ปกติบุคคลที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีจะอธิบายความหมายของเทคโนโลยีสาร สนเทศโดยให้ความสำคัญกับส่วนประกอบสองประการแรก แต่ผู้ที่สนใจด้านการจัดการข้อมูล (Data/Information Management) จะให้ความสำคัญกับส่วนประกอบที่สาม ซึ่งมีความเป็นศิลปะ ในการจัดรูปแบบและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่นำมาประยุกต์ ในการประมวลผล การจัดเก็บ การสื่อสาร และการส่งผ่านสารสนเทศด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยที่ระบบทางกายภาพประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และระบบเครือข่าย ขณะที่ระบบนามธรรมเกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ด้านสารสนทศ ทั้งภายในและภายนอกระบบ ให้สามารถดำเนินร่วมกันอย่างประสิทธิภาพ

สรุป ระบบสารสนเทศ

การนำข่าวสารที่รวบรวมได้จากทั้งภายในภายนอกระบบ มาประมวลผล หรือ วิเคาะห์ เพื่อให้ข่าวสารที่ได้นั้นนำไปใช้ในการบริหารได้นั่นเองครับ.ขอขอบคุณเว็บที่ให้อ้างอิงนะครับ http://www.sirikitdam.egat.com/

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

สวัสดีปีใหม่ 2014 ครับ.เปิดปีก็เข้าสู่วังวนเดิมเลย.

สวัสดีปีใหม่ 2014 ครับ บล็อกนี้สร้างขึ้นวันที่ 4 มกราคม 2557. วันนี้คงยังไม่พูดอะไรมากนะครับ ขอสวัสดีปีใหม่ ก่อน เปิดมาปีนี้ก็งานเข้าเลยครับปัญหาเดิมที่ไม่ถูกแก้ไขก็เข้ามาแบบไม่มีปี่มีขุ่ย ปลายปีที่แล้วที่คุยกันว่า จะลงทุนซื้อ ระบบโน้นระบบนี้ ก็กลับเข้าสู่วังวนเดิมเหมือนปีที่แล้วคือระบบเดิมยังไม่เกิดผล.(เห้อจะเกิดได้ไง งบประมาณแก้ไขก็ไม่มี ทำงานกันเพื่อไม่ให้ถูกนายด่าอย่างเดียว) จะเกิดได้อย่างไรหน่อในเมื่อฝ่ายงานที่เป็นผู้กำหนดนโยบายหลักไม่ลงไม่เล่นในระบบ เพื่อนเคยเจอปัญหาแบบนี้หรือไม่ครับ แล้วทางองค์กร ของเพื่อนแก้ไขอย่างไร.....

ระบบสารสนเทศ ของบริษัทที่มีปัญหานี้หากถ้าระดับนโยบายไม่ลงมาเล่นในระบบ บริษัทเพื่อนๆที่ดูและระบบสารสนเทศทำอย่างไรกันบ้างครับ เนื่องจากผม อยู่ในฐานะพูดไปไม่มีใครรับฟัง ใครพอจะมี แนวทางบ้าง ส่วนตัวผมพอมีแนวทางแล้วแต่ยังไม่นำเสนอ เพราะกลัวว่าไ่ม่โดนใจจะเสียความรู้สึกอีก